ข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรทั่วราชอาณาจักร ว่าด้วย การห้ามเดินรถและการห้ามจอดรถบรรทุก ตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป และรถพ่วงในเขตกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2546
ตามที่ได้มีข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรทั่วราชอาณาจักร ว่าด้วยการห้ามเดินรถและการห้ามจอดรถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไปและรถพ่วง ในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543 ฉบับลงวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2543 และข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรทั่วราชอาณาจักร ว่าด้วย การห้ามเดินรถและการห้ามจอดรถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไปและรถพ่วง ในเขตกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543 ฉบับลงวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2543 นั้น
จากสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน การจราจรในเขตกรุงเทพมหานครคับคั่งและทางราชการได้มีการจัดสถานีขนส่งสินค้าชานเมือง จำนวน 3 แห่ง เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าเรียบร้อยแล้วและเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของทางราชการ จึงเห็นควรปรับปรุง
การห้ามเดินรถและการห้ามจอดรถบรรทุกขนาดใหญ่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อลดปัญหาการจราจรติดขัดในเขตกรุงเทพมหานครอันจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศต่อไป
ฉะนั้น เพื่อความปลอกภัยและความสะดวกในการจราจร อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 139 (1) แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางปรปะการเกี่ยวกับการกำจัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบด้วยมาตรา 31 มาตรา 36 และมาตรา 48 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาญาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในฐานะเจ้าพนักงานจราจรทั่งราชอาญาจักร จึงออกข้อบัญญัติไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับเจ้าพนักงานทั่วราชอาณาจักร ว่าด้วย การห้ามเดินรถและการห้ามจอดรถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป และรถพ่วงในเขตกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2546”
ข้อ 2 ห้ามรถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป รถบรรทุกที่มีเพลาตั้งแต่ 3 เพลาขึ้นไป และรถพ่วง เดินรถในถนนหรือทางทุกสายในเขตพื้นที่ภายในของถนนวงรอบพื้นที่ชั้นในกรุงเทพมหานคร 113 ตารางกิโลเมตร ตั้งแต่เวลา
06.00 น. – 21.00 น. เว้นวันหยุดราชการถนนวงรอบพื้นที่ชั้นในกรุงเทพมหานคร 113 ตารางกิโลเมตร ตามวรรคแรก หมายถึง ถนนที่เชื่อมต่อเนื่องเป็นวงรอบ ต่อไปนี้
2.1 ถนนวงศ์สว่าง ตั้งแต่สะพานพระราม 7 ถึงแยกวงศ์สว่าง
2.2 ถนนรัชดาภิเษก ตั้งแต่แยกวงศ์สว่าง ถึงแยกพระราม 9
2.3 ถนนอโศก ตั้งแต่แยกพระราม 9 ถึงแยกอโศกสุขุมวิท
2.4 ถนนรัชดาภิเษก ตั้งแต่แยกอโศกสุขุมวิท ถึงห้าแยก ณ ระนอง
2.5 ถนนพระราม 3 ตั้งแต่ห้าแยก ณ ระนอง ถึงแยกถนนตก
2.6 ถนนรัชดาภิเษก ตั้งแต่แยกถนนตกข้ามสะพานกรุงเทพ ถึงแยกท่าพระ
2.7 ถนนจรัญสนิทวงศ์ ตั้งแต่แยกท่าพระ ถึงสะพานพระราม 7
ข้อ 3 อนุญาติให้รถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป รถบรรทุกที่มีเพลาตั้งแต่ 3 เพลาขึ้นไป และรถพ่วงเดินรถในถนนวงรอบ ตามข้อ 2 วรรคสอง ระหว่างเวลา 10. 00 น. – 15.00 น. ทุกวัน
ข้อ 4 ความในข้อ 2 วรรคแรก ของข้อบังคับนี้ไม่ให้ใช้บังคับแก่รถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป รถบรรทุกที่มีเพลาตั้งแต่ 3 เพลาขึ้นไป และรถพ่วงตามเงื่อนไข ดังนี้
4.1 อนุญาตให้รถบรรทุกคอนกรีตผสมเสร็จ เดินรถได้ระหว่างเวลา 10.00 น. – 15.00 น.
4.2 อนุญาติให้รถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป รถบรรทุกที่มีเพลาตั้งแต่ 3 เพลาขึ้นไป และรถพ่วงเดินรถได้ในถนนวิภาวดี
รังสิต ช่วงแยก รัชวิภาถึงแยกปากทางลาดพร้าว ถนนพระรามที่ 6 จากทางลงทางด่วนด่านย่านพหลโยธิน ถึงแยก
ถนนกำแพงเพชร รวมทั้งในถนนกำแพงเพชรและถนนกำแพงเพชร 2 ระหว่างเวลา 10.00 น. – 15.00 น.
4.3 อนุญาตให้รถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป รถบรรทุกที่มีเพลาตั้งแต่ 3 เพลาขึ้นไป และรถพ่วงเดินรถได้ในถนนรัชดาภิเษกช่วงห้าแยก ณ ระนอง ถึงแยกถนนพระรามที่ 3 เฉพาะที่ขึ้น – ลงทางด่วนที่ด่านเลียบแม่น้ำ , ด่านสาธุประดิษฐ์ 1 , ด่านทางลงสาธุประดิษฐ์และด่านพระราม 3 ระหว่างเวลา 10.00 น. – 15.00 น.
4.4 อนุญาติให้รถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป รถบรรทุกที่มีเพลาตั้งแต่ 3 เพลาขึ้นไป และรถพ่วงซึ่งบรรทุกสินค้าเกษตรที่เน่าเสียง่าย เดินรถได้ระหว่าง เวลา 10.00 น. – 15.00 น.
ข้อ 5 สำหรับการเดินรถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป รถบรรทุกที่มีเพลาตั้งแต่ 3 เพลาขึ้นไป และรถพ่วงนอกเขตพื้นที่
ชั้นใน 113 ตารางกิโลเมตรของกรุงเทพมหานคร ให้ถือปฏิบัติตามข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรทั่วราชอาณาจักร ว่าด้วย การห้ามเดินรถและการห้ามจอดรถบรรทุกตั้งแต่ 10 ล้อขึ้นไป และรถพ่วงในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543 ฉบับลงวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2543
ข้อ 6 ข้อบังคับนี้ ไม่ให้ใช้บังคับแก่รถบรรทุกที่ได้รับผ่อนผันจากเจ้าพนักงานจราจรและรถบรรทุกซึ่งมีข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจรกำหนดไว้โดยเฉพาะแล้ว
ข้อ 7 บรรดาข้อบังคับ ประกาศ ระเบียบใด ที่ขัดหรือแย้งกับข้อบังคับนี้ ให้ยกเลิกโดยใช้ข้อบังคับนี้แทน
ข้อ 8 ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวัน
นับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2546
(สันต์ ศรุตานนท์)
ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
เจ้าพนักงานจราจรทั่วราชอาณาจักร